ข้อมูลทั่วไปสถานศึกษา



   💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧

            
                วิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึกสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ  ได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  5 สิงหาคม พ.. 2536 บนเนื้อที่ 30 ไร่ โดยได้รับการบัญญัติงบประมาณปี 2536ของสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่
                นายอาคม เอ่งฉ้วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและท้องถิ่นได้รับบริจาคที่ดินสร้างวิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึก จากคุณย่อง - คุณสุขสมกิตติสิทโธ จำนวน 30 ไร่ วิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึกปัจจุบันมีเนื้อที่  32  ไร่โดยได้รับบริจาคเพิ่มจากคุณละเอียด  ราชนิยม และคุณอมร บ้านนบ จำนวน 2 ไร่และได้เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2538 โดยเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมพณิชยกรรม  คหกรรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นหลากหลายและหลักสูตรวิชาชีพแกนมัธยมโดยมีนายประพันธ์  รอดราวี  เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยคนแรก  

ขนาดและที่ตั้ง
ขนาดมีพื้นที่ทั้งหมด32ไร่
ที่ตั้งตั้งอยู่เลขที่30/12 หมู่ที่4ตำบลคลองหินอำเภออ่าวลึก
จังหวัดกระบี่
    ชื่อสถานศึกษา    วิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึก
                     ชื่อภาษาอังกฤษ   AOLUK INDUSTRIAL AND COMMUNITY EDUCATION     COLLEGE
รหัสไปรษณีย์   81110
โทรศัพท์  0-7566-5685
โทรสาร  0-7566-5685  
เว็บไซต์  www.aicec.co.th
 

  สภาพชุมชนเศรษฐกิจ สังคม
                   วิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึกอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ  30  กิโลเมตร  เส้นทางหลวงหมายเลข4 (ถนนเพชรเกษมไปยังจังหวัดพังงา ภูเก็ตและตรัง เป็นเส้นทางสายหลักที่สำคัญที่สุดชุมชนบริเวณใกล้เคียงวิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึกบริเวณด้านหน้าของวิทยาลัยมีร้านค้าปลีกขนาดเล็กไว้บริการนักเรียนนักศึกษาและบุคคลทั่วไปมีหอพักในชุมชนไว้สำหรับบริการนักเรียน-นักศึกษาที่อยู่ไกล โดยวิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึกได้รับความร่วมมือจากเจ้าของหอพักในการช่วยเหลือควบคุมดูแลความประพฤติ ของนักเรียนนักศึกษาเป็นอย่างดี  ประกอบด้วย
1.    ประชาชนและชุมชนรอบๆวิทยาลัยการอาชีพอ่าวลึกส่วนมากประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและปลูกปาล์มน้ำมัน
2.    ระดับการศึกษาของผู้ปกครองส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา
3.    อาชีพของผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้างและเกษตรทำสวนยาง สวนปาล์มน้ำมัน ประมง และค้าขาย รายได้ของครอบครัวอยู่ในระดับ ปานกลาง เฉลี่ยประมาณเดือนละ 5,000 – 8,000 บาท
4.  ค่าใช้จ่ายของนักเรียน นักศึกษา 60-100 บาท/วัน/คน
5.  มีการคมนาคม การขนส่งรถประจำทางสะดวก
6.  มีความเจริญทางด้านธุรกิจการท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่งสะดวก
        

นโยบายทั่วไป

   1. การจัดทำแผนงานโครงการเริ่มใหม่
- เข้าใจจุดหมายว่าทำเพื่ออะไร
- วาดภาพงาน ลงในรายละเอียดให้เห็นว่าอะไรคืองานหลักแล้วมีงานรองอะไรบ้างที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุงานหลัก ที่ต้องทำก่อน ทำที่หลัง
- มีฐานข้อมูลที่แน่น ฐานข้อมูลที่ดีทำให้การวิเคราะห์ แม่นยำ
          2. การปรับปรุงแผนงาน/โครงการเดิมที่ไม่สัมฤทธิ์ผล
          3. แผนงาน/โครงการพระราชดำริ
- โครงการที่กระทรวงศึกษาเกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบโดยตรง
- โครงการ เป็นดำริของพระองค์ใด ทำแล้ว และกระทรวงศึกษาให้การสนับสนุน
4. งบประมาณ
- งบลงทุน ได้วางแผนโครงการในงบลงทุนในไตรมาสแรก
- การทำแผนงานโครงการใช้งบปกติที่ได้รับ ใช้การปรับแผนงานที่ได้ผลสัมฤทธิ์ โปร่งใส
  ตรวจสอบได้
5. เน้นการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร
- จัดให้มีช่องทางการสื่อสาร อย่างเป็นระบบ นำ เทคโนโลยีเข้ามาช่วย (การประชุมทางไกล โปรแกรม ไลน์ ฯลฯ) เพื่อใช้ในการสร้างความเข้าใจในองค์กร สามารถถ่ายทอดคำสั่งไปยังหน่วยรองได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว การรายงานเหตุการณ์ ได้อย่างรวดเร็ว
- จัดให้มีแผนการประชาสัมพันธ์ สารสนเทศ ประชาสนเทศ
6. อำนวยการเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
วิทยาลัยฯ กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติ เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น การเกิดอุบัติเหตุในโรงเรียน/ นอกโรงเรียน, ผู้บริหารถูกกล่าวหา, การรวมตัวกันต่อต้านผู้อำนวยการโรงเรียน นักเรียนปวดท้องอาเจียนยกชั้น โรงเรียนถูกขู่วางระเบิด  เกิดวาตภัย ฯลฯ
7. การร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคม
ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมให้ครบวงจร เช่น เข้ามาร่วมกำหนดหลักสูตรการรับนักเรียนเข้าไปทำงานขณะที่ยังศึกษาอยู่ การรับนักเรียนเมื่อจบการศึกษา เข้าทำงาน
8. ให้ความสำคัญ กับการบริหารงานส่วนภูมิภาคและเขตพื้นที่ต่างๆ ของแต่ละแห่ง
9. โครงการจัดอบรมสัมมนา ตอบโจทย์ที่ตั้งไว้  เข้าร่วมการ สัมมนา ผลลัพธ์ที่ต้องการเนื้อหาสัมพันธ์กับเวลา
10. ยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร
11. มีการนำ ICT  เข้ามาใช้ในการบริหารงานในวิทยาลัยฯ อย่างกว้างขวาง
12. ให้ความสำคัญกับเทคนิคการสอนและการสื่อความหมาย
13. ลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนของครู เพื่อให้ครูมีเวลาทุ่มเทให้กับการเรียนการสอนของนักเรียนอย่างจริงจัง
14. การประเมินเพื่อความก้าวหน้าต้องสอดคล้องกับผลการพัฒนาผู้เรียน ทั้งความรู้และคุณลักษณะและทักษะชีวิต
15.  ลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอน  การนำเด็กนักเรียน ครู ออกนอกห้องเรียน    

💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧💧



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น